แคลเซียมนั้นสำคัญอย่างไร
แคลเซียมนั้นสำคัญอย่างไร

เป็นที่ทราบกันดีมาตั้งแต่วัยเยาว์แล้วนะครับ ว่าเราต้องการนม เพราะมีแคลเซียมสูง ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน แต่นกเนี่ย มันไม่มีนม (ยกเว้น น้องนก พี่นก ป้านก 555) จะให้นกไปดูดนมที่ไหนหล่ะ แต่นกก็ต้องการแคลเซียมนะเออ
พูดง่ายๆคือ “สัตว์ทุกชนิดต้องการแคลเซียม”

แต่แคลเซียมนั้นเอง ก็มีหลายรูปแบบ หลายฟอร์มกันเลยทีเดียว เพราะแคลเซียมนั้น จะทำออกมาในรูปผลึกเกลือครับ ที่เราคงเคยได้ยินกัน เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต แคลเซียมแลคเตทแคลเซียมซีเตรท แคลเซียมกลูโคเนต และอีกสารพัดแคลเซียม

แคลเซียมแต่ละแบบนั้น ก็จะมีข้อดีข้อเสีย แตกต่างกันไปครับ ปัจจัยที่ต่างกัน เช่น ราคา ความเป็นกรด-ด่าง การดูดซึม การละลายน้ำ รูปแบบผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ผู้ใช้ก็ควรศึกษาข้อมูลต่างๆ เพื่อประโยชน์ต่อสัตว์เลี้ยงของเรา ผมจะลองยกตัวอย่างนะครับ
- แคลเซียมคาร์บอเนต
เป็นแคลเซียมที่คุ้นหูคุ้นตากันมากที่สุดละครับ มีขายกันทั่วไป เช่น กระดองปลาหมึก ก้อนผลึกป่น เปลือกหอยป่น เป็นต้น แคลเซียมชนิดนี้ ละลายน้ำยาก ต้องใช้กรดทำละลาย มีความเป็นด่าง แต่ราคาถูก เวลาสัตว์กินเข้าไป ก็จะไปทำให้ต้องกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร บางทีก็อาจจะทำให้ท้องอืดได้ด้วย บางกรณีก็อาจจะเกิดการอุดตัน เพราะดันกินเยอะเกิน พูดง่ายๆคือดูดซึมยากนั่นเอง
- แคลเซียมกลูโคเนต
ส่วนใหญ่จะพบได้ในรูปฉีด เข้าเส้นเลือด ใช้รักษาพวกภาวะขาดแคลเซียมเฉียบพลัน ไม่ค่อยนิยมทำในรูปกิน ในผลิตภัณฑ์คน มีบ้างที่ทำในรูปกิน โดยผสมกับผลึกเกลือแคลเซียมอื่นๆ การนำมาใช้สัตว์เลยค่อนข้างลำบาก
- แคลเซียมแลคเตท
แคลเซียมชนิดนี้ เป็นแคลเซียมที่ละลายน้ำได้ค่อนข้างดี และไม่มีรสชาด ไม่ทำให้เกิดภาวะเป็นด่างในทางเดินอาหาร แม้ว่าการแตกตัวให้ปริมาณแคลเซียมจะไม่มากนัก แต่ร่างกายก็ดูดซึมได้ค่อนข้างดี แคลเซียมรูปแบบนี้ ยากต่อการทำให้อยู่ในรูปสารละลายเข้มข้น จึงมีใช้ในรูปแบบผง
ที่สำคัญ!!!!! เราต้องไม่ลืมว่า การดูดซึมแคลเซียมที่ดี นั้นต้องอาศัยวิตามิน D3 นะครับ ซึ่งสัตว์หลายๆชนิดเค้าก็สามารถสร้าง D3 ได้จากการรับแสดงแดดที่มี UVB แดดอ่อนๆ ช่วงเช้าๆและเย็นๆ จะมีปริมาณ UVB ค่อนข้างมาก (ใครชอบสร้างโรงเรือนทึบๆ คงต้องพิจารณาประเด็นนี้ดีๆนะครับ)
แล้วสัตว์ที่ต้องให้แคลเซียมเพราะอะไร
- สัตว์เด็กๆ ต้องการเจริญเติบโต
ก็เป็นทราบทราบกันดีว่าแคลเซียมไปสะสมอยู่ในร่างกายในรูปกระดูกและฟัน ได้ไม่พอ ดูดซึมไม่ดี โรคกระดูกบางก็ถามหานะจ๊ะ

- สัตว์ต้องการแคลเซียมไว้ทำงานร่างกาย
ในชีวิตประจำวัน ร่างกายก็ใช้แคลเซียมเพื่อทำงานอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการขยับกล้ามเนื้อ การรักษาสมดุลแร่ธาตุ

- การออกลูก ออกไข่
สัตว์ที่ต้องตั้งท้อง ออกไข่ ทั้งหลาย ก็ต้องดึงแคลเซียมไปใช้นะครับ เพราะต้องเอาไปสร้างเปลือกไข่ เอาไปสร้างกระดูกให้ลูก นั่นหมายความว่างช่วงตั้งท้อง สร้างไข่ นี่ต้องการแคลเซียมเยอะเป็นพิเศษเลย

- การซ่อมแซมกระดูกที่หัก
แคลเซียมก็เหมือนปูนไปฉาบ โป๊ว รอยแตกหักนี่แหละครับ คิดดูว่า ถ้าปูนมีน้อย เราก็ซ่อมยากนะครับ

อีกอย่าง!!! อาหารที่เราให้สัตว์นั้น ก็อาจจะพร่องในเรื่องแคลเซียมด้วยนะครับ เช่น
- เมล็ดธัญพืชหลายๆชนิด แคลเซียมต่ำ
- หนอนนกแคลเซียมก็ต่ำ
- อาหารบางอย่างมีฟอสฟอรัสสูง เช่น เนื้อสัตว์ (ทำให้ร่างกายต้องดึงแคลเซียมออกมาจากกระดูก เพื่อรักษาสมดุล แคลเซียม:ฟอสฟอรัส ในกระแสเลือด) ก็ส่งผลต่อระดับแคลเซียมในร่างกายทั้งหมด

การเสริมแคลเซียม จึงจำเป็นอย่างมาก ถ้าพิจารณาในหลายๆมิติ แต่.... ถ้าให้มากเกินไประวังโรคถามหานะครับ เพราะแคลเซียมที่มากเกินไปนั้น ก็จะส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ ไต และอื่นๆตามมานะเออ ส่วนตัวผมเอง ชอบแบบผง ของแคลเซียมแลคเตรท เพราะใช้โรยหรือผสมอาหารได้ดี ไม่มีรสชาติ สัตว์เลี้ยงยอมรับได้ง่ายครับ จะใช้แบบละลายน้ำให้กินก็ได้ครับ แต่อาจจะเหลือตกตะกอนบ้าง ก็เป็นเรื่องปกติ เพราะเป็นผลึกเกลือที่มีปัจจัยในการละลายแตกต่างกัน
ปริมาณการใช้ ก็ขึ้นกับอาหารที่แต่ละคนใช้นะครับ เสริมมากน้อย ก็แตกต่างกันไปตามแต่ละบ้านและเทคนิค (แต่ต้องอิงตามหลักความเป็นจริงและวิชาการนะครับ ไม่ใช่คิดเองเออเอง) ส่วนจะใช้เท่าไหร่นั้น ผมแนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์ที่เชี่ยวชาญ หรือนักโภชนาการ นักเพาะพันธุ์ที่มีองค์ความรู้และประสบการณ์นะคร้าบบบ

แคลซิลักซ์ แคลเซียมแลคเตรท ดูดซึมง่าย กระดูกแข็งแรง
ทุกอย่างมีคุณอนันต์ โทษมหันต์ อย่าลืมเดินทางสายกลางกันนะครับ ^^